โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

วศ.อว. เข้าร่วมจัดนิทรรศการทรัพยากรไทย: ๓๐ ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน

          วศ.อว. เข้าร่วมจัดนิทรรศการทรัพยากรไทย: ๓๐ ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๑๙ – ๒๔ กันยายน ๒๕๖๕ ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายในพื้นที่เต็นท์ C ๑๕/๑ ซึ่งมีพื้นที่การจัดแสดงขนาด ๕x๖ เมตรอยู่บริเวณลานกลางแจ้ง ใกล้อาคารสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยเนื้อหาจัดแสดง เป็นการร่วมสนองพระราชดำริฯ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ในกิจกรรมที่ ๔ : อนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช ในด้านการวิเคราะห์ทดสอบสารอาหารและองค์ประกอบสำคัญในพืชอนุรักษ์ชนิดต่างๆ ที่ อพ.สธ. ให้ความสำคัญ เช่น ฉิ่ง ปลัง ยายถีบหลาน และตูนขาว เป็นต้น เพื่อการอ้างอิง คัดเลือกสายพันธุ์และวางแผนพัฒนาพันธุกรรมพืชชนิดต่าง ๆ โดยนำเสนอในรูปแบบแผ่นป้ายพลาสวู้ด และแผ่นพับ 

** หมายเหตุ : รูปแผ่นพับและโปสเตอร์สามารถคลิกที่รูปเพื่อดูในรูปแบบ PDF ได้ **

 

 

     

วศ. อว. จัดประชุมคณะทำงานจัดทำฐานข้อมูลโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ

วศ. อว. ได้ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานจัดทำฐานข้อมูลโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (อพ.สธ.-วศ.) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ ในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมกองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร อาคารดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ


 

 

วศ.อว. ร่วมหารือกับศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีฯ

วศ.อว. ร่วมหารือแนวทางการเนินงานสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ร่วมกับศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จังหวัดจันทบุรี โดยนายสมพร เหรียญรุ่งเรือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนจันทุบรี นายเทศกาล กิ่งแก้ว นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ และนายสุริยัน มิสกร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ได้ให้การต้อนรับและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์ทุเรียนพื้นเมือง ภายใต้กิจกรรม อพ.สธ.โดยมีการสำรวจ รวบรวม และจำแนกพันธุ์ทุเรียนจากแหล่งปลูกที่สำคัญจากทั่วประเทศไทยและต่างประเทศนำมาปลูกไว้ภายในพื้นที่ศูนย์ฯ มากกว่า ๑๐๐ สายพันธุ์ โดยศูนย์ฯ ได้นำพันธุกรรมเหล่านี้มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อสร้างทุเรียนลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน จากนั้นได้ร่วมหารือและนำเสนอแนวทางด้านการวิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่าง ๒ หน่วยงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ คัดเลือกสายพันธุ์และเพิ่มมูลค่าทุเรียนพื้นเมือง ให้สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนภายในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ทางคณะทำงานฯได้ลงพื้นที่สำรวจภายในแปลงพืชอนุรักษ์ อพ.สธ. ภายในพื้นที่ศูนย์ฯจำนวน ๑๒ ไร่ โดยภายในแปลงอนุรักษ์ ประกอบด้วยทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองหายากที่เก็บมาจากพื้นที่ต่างๆภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีการทำข้อมูลระบุ ตำแหน่งต้นเพื่อจำแนกสายพันธุ์ภายในแปลง โดยผลผลิตส่วนใหญ่จะออกอยู่ในช่วงประมาณ เดือนเมษายน-พฤษภาคมของทุกปีขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและสายพันธุ์ทุเรียนแต่ละชนิด

 

 

วศ. อว. จัดประชุมคณะทำงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ

วศ. อว.ได้ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (อพ.สธ.-วศ.) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ ในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๖ และ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ ในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมกองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร อาคารดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ 


ประชุมครั้งที่ ๑


ประชุมครั้งที่ ๒

 

 

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้เข้าปรึกษาหารืองานวิจัยและพัฒนาพืชอนุรักษ์ในภาคใต้ ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จังหวัดตรัง

           กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้เข้าปรึกษาหารืองานวิจัยและพัฒนาพืชอนุรักษ์ในภาคใต้ ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จังหวัดตรัง ในวันที่ ๑๐-๑๑ มกราคม ๒๕๖๕ โดยคณะเจ้าหน้าที่ วศ.ได้เข้าพบ คุณฉัตรชัย กิตติไพศาล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ มี นางสาวปิยะนุช มุสิกพงศ์ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ เป็นผู้ประสานงาน และนักวิจัยของศูนย์ได้แก่ นางศุภลักษณ์ อริยภูชัย นักวิชาการเกษตรชำนาญการ โดย วศ.ได้รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการ และสรุปผลการดำเนินการในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ จากนั้นร่วมปรึกษาหารือแนวทางการดำเนินโครงการฯ ในปี ๒๕๖๖ ร่วมกับศูนย์วิจัยฯ พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างผักพื้นเมืองในแปลงอนุรักษ์ของศูนย์วิจัยฯ ได้แก่ ส้มควาย กระโดน กะพ้อ ฉิ่ง เนียง เพกา หมุยยอดดำ เล็บครุฑ หมุยยอดขาว มะเม่า เทียม ทำมัง ยายถีบหลาน ขี้เหล็ก ส้มแขก หมากหมก ผักหนามผักหวานป่า ขว้างคอน สะตอ รวมจำนวน ๒๘ ตัวอย่าง เพื่อทำการศึกษา วิเคราะห์องค์ประกอบอาหารและสารสำคัญ และจัดทำฐานข้อมูลพืชอนุรักษ์ ให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์โครงการในปีงบประมาณ ๒๕๖๖